PRE-APPLIED WATERPROOFING MEMBRANE
แผ่นเมมเบรนกันซึมใต้ดินชนิดก่อนเทคอนกรีต
ปัญหาความชื้นจากน้ำใต้ดิน
ถังเก็บน้ำคอนกรีตขนาดใหญ่ ใช้สำหรับเก็บทั้งน้ำดีและน้ำที่ใช้แล้วหรือน้ำเสียหรือเป็นถังที่ใช้บำบัดน้ำก่อนส่งออกสู่ระบบท่อสาธารณะ โดยมากใช้ในโครงการที่มีปริมาณการใช้น้ำที่ค่อนข้างมาก เช่น คอนโดมีเนียม อาคารสำนักงาน อาคารส่วนราชการ โรงงาน หรือแม้แต่ ถังเก็บน้ำชุมชน เป็นต้น ถังเก็บน้ำคอนกรีตแม้เป็นน้ำดีก็มีการผุกัดกร่อนไปตามอายุการใช้งาน
ถังเก็บน้ำคอนกรีตนิยมก่อสร้างกันเพื่อการใช้งานที่ยาวนานแต่เนื่องจากการเสื่อมสภาพของวัสดุชนิดต่างๆ ทำให้ต้องมีการบูรณะซ่อมแซม โดยการซ่อมแซมถังเก็บน้ำคอนกรีตเราได้แบ่งการซ่อมออกเป็นการซ่อมแซมภายนอกและซ่อมแซมภายใน กรณีที่ถังน้ำที่มีส่วนผนังคอนกรีตอยู่เหนือระดับดินและสามารถทำงานได้โดยรอบจะสามารถซ่อมได้ทั้งสองแบบ
จุดประสงค์ของการซ่อมแซม
-
เพื่อหยุดน้ำที่รั่วซึมทั้งจากภายนอกเข้าถังเก็บน้ำ
-
เพื่อหยุดน้ำซึมจากถังเก็บน้ำออกภายนอก
-
เพื่อยืดอายุการใช้งานของถังเก็บน้ำให้มีอายุการใช้งานเพิ่มขึ้น
-
ลดความเสี่ยงจากการไม่มีน้ำใช้เนื่องจากการรั่วซึม
-
ลดปัญหาการจ่ายค่าน้ำประปาสูงเกินจริง
-
ลดปัญหาการไม่มีน้ำใช้เนื่องจากถังเก็บน้ำสูญเสียสภาพ
วิธีการหยุดน้ำรั่วซึมจากภายนอกถังเก็บน้ำ
เมื่อเราตรวจพบเจอน้ำรั่วซึมที่ผนังถังน้ำดีภายนอก การหยุดน้ำรั่วซึมจะใช้วิธีการฉีดอัดน้ำยาแบบมีแรงดันเข้าไปบริเวณที่เกิดการรั่วซึม เรีกยว่าวิธีการ polyurethan foam injection คือ การอัดสารหยุดน้ำที่ผลิตมาจากสารชนิดโพลียูรีเทนเมื่อสัมผัสน้ำแล้วจะขยายตัวเป็นโฟมหยุดน้ำมีหลากหลายชนิดและเกรด ยิ่งเกรดที่ราคาถูกมากๆ มักจะไม่ทนทานและเสื่อมไว ทำให้น้ำรั่วเข้ามาได้อีก การยิงโฟมนั้นเป็นวิธีการที่ต้องใช้ช่างซ่อมที่มีประสบการณ์ในการทำงานบุคคลทั่วไปไม่สามารถซ่อมเองได้ เราแบ่งขั้นขั้นตอนการซ่อมแซมทั่วไปมีดังนี้
-
ทำการสกัดเปิดผิวเพื่อตรวจสอบการรั่วซึม วิธีการนี้เพื่อต้องการเปิดผิวและใช้ในการอัดน้ำยาลงไปประสานรอยรอยรั่ว
-
เจาะรูและติดตั้งหัวยิง packer
-
ฉีดน้ำยาชนิด polyurethane เข้าไปที่หัวยิง
-
ถอดหัวยิงและปิดผิวด้วยซีเมนต์กันน้ำชนิดแห้งตัวเร็ว
-
เก็บถอดหัวติดตั้งและโป๊วเก็บงานให้เรียบร้อย
-
ควรทำการ protection coating อีกหนึ่งขั้นตอนหากต้องการให้มีความทนทานเพิ่มขึ้น
High Density Waterproofing Membrane
วิธีการซ่อมแซมภายในถังเก็บน้ำ
การซ่อมแซมและกันซึมภายในบ่อนั้น มีค่าใช้จ่ายและวิธีการค่อนข้างมาก เป็นการซ่อมแซมที่ครบถ้วนและเพิ่มความคงทนของถังเก็บน้ำและยังช่วยยืดอายุการใช้งาน
-
กรณีที่ถังน้ำฝังอยู่ใต้ดิน ทำการตรวจสอบน้ำที่รั่ว ผนัง พื้น ทั้งหมดเพื่อประเมิณปริมาณและวิธีการซ่อม
-
ทำการซ่อมหยุดน้ำรั่วด้วยวิธีการ polyurethane foam injection
-
เมื่อน้ำหยุดแล้ว ทำการตรวจสอบพื้นผิว
-
หากพบรอยร้าวให้ทำการซ่อมด้วยวิธี Epoxy Injection
-
หากพบปูนแตก ให้ซ่อมด้วยวิธีฉาบปูนซ่อมแซม Repair Mortar
-
ทำการเคลือบผิวอีกครั้งด้วยวัสดุชนิดซีเมนต์กันซึมชนิด 2 ส่วนผสมอย่างน้อย 3 เที่ยว
-
รอให้วัสดุแห้งตัวประมาณ 4-6 ชั่วโมง สามารถเติมน้ำกลับเข้ามาได้