โพลียูเรีย
ระบบกันซึมแบบพ่น 100%
POLYUREA WATERPROOF COATING
โพลียูเรีย ระบบกันซึมชนิดโพลียูเรีย
โพลียูเรียในงานกันรั่วซึมและปกป้องพื้นผิวได้รับการยอมรับว่าเป็นวัสดุที่ดีที่สุดในปัจจุบันของงานกันซึมและปกป้องพื้นผิว (Waterproof & Protective Coating) มีคุณสมบัติแห้งตัวเร็วและเปิดการใช้งานได้แทบจะทันทีหลังการติดตั้งและมีคุณสมบัติอีกประการคือความทนทานในสภาพต่างๆ ได้ดีเยี่ยม
ประวัติความเป็นมาของวัสดุโพลียูเรียโดยเริ่มต้นในปี 1990 ผู้คิดค้นป็นนักเคมี ชื่อว่า Mark S. Barton and Mark Schlichter (ข้อมูลจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Polyurea) โดยเป็นระบบพ่นที่ใช้ความร้อนเร่งปฎิกิริยาของไฮโซไซยาเนตกับอะมิโนเรซิน การผสมและเกิดปฏิกิริยาของวัสดุทั้งสองชนิดต้องทำความร้อนในการเร่งและแรงดันสูงในการฉีดพ่นโดยเวลาที่ใช้ในการเซทตัวภายในไม่กี่วินาที เป็นวัสดุที่มีสองส่วนดังรูปด้านล่างบรรจุในถัง 200 ลิตรดรัม เท่านั้น ตัววัสดุและการติดตั้งจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับวัสดุกันซึมชนิดอื่นๆ
คุณสมบัติระบบกันซึมชนิดโพลียูเรีย
ระบบกันซึมโพลียูเรียคืออะไร เป็นวัสดุกันซึมแบบ 2 ส่วน ไม่มีส่วนผสมของตัวทำละลาย เมื่อแห้งแล้วจะเป็นวัสดุที่เป็นของแข็ง 100% ไม่มีการระเยหรือระเกิด ทำให้สูญเสียสภาพ มีความทนทานต่อสารเคมีที่มีความเข้มข้นสูงและคุณสมบัติต้านทานทางกลสูง และจุดเดนที่สำคัญที่สุดคือ ultra fast curing หรือ มีสภาพการแห้งตัวที่เร็วมากนับตั้งแต่เริ่มติดตั้ง การแห้งตัวประมาณ 3-5 นาที
-
Tensile strength > 20 /mm2
-
Elongation > 350 %
-
Solid content 100%
-
Hardness Shore A > 95
-
Tack free time 5 second
-
Mechanical load 24 hr
ชนิดของโพลียูเรีย
-
เพียวโพลียูเรีย (Pure Polyurea) เกิดจากการผสมของเรซิ่นสองชนิดคือ Isocyanate กับ Polyamide และไม่มีสารผสมตัวอื่น ทำให้เพียวโพลียูเรียให้ผลลัพธ์และมีค่าทางกลและความทนทานที่สุดเมื่อเทียบกับแบบอื่น มีคุณสมบัติทางเทคนิคที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกันและที่สำคัญคือมีราคาค่อนข้างสูง แต่แลกกับความทนทานที่ได้ มีอายุการใช้งานยาวนาน 20 -30 ปีขึ้นไป แบ่งได้อีก 2 แบบคือ Aliphatic และ Aromatic
-
ไฮบริดโพลียูเรีย (Hybrid Polyurea) เกิดจากการผสมของเรซิ่นสองชนิดคือ Isocyanate กับ Polyamide แบบเดียวกับ Pure Polyurea แต่ปรับลดและเพิ่มสาร Polyol ซึ่งเป้นสารที่มีใน Polyurethane มีคุณสมบัติลดหลั่นลงมา และมีราคาย่อมเยาว์กว่า ไม่สามารถใช้ใน Tank ที่จำเป็นต้องขังน้ำเป็นเวลานาน
ข้อดีของวัสดุโพลียูเรีย
การเติบโตของวัสดุโพลียูเรีย ซึ่งเป็นตัววัสดุทั้งคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์,คุณสมบัติทางกล อีกทั้งยังมีการเซ็ทตัวที่เร็วมาก ซึ่งลดการเสียเวลาในการก่อสร้าง เราได้รวบรวมไฮไลท์คุณสมบัติเป็นข้อๆ เอาไว้ด้านล่าง
1. ระยะเวลาบ่มตัวที่เร็วมาก (ultra fast curing) เป็นคุณสมบัติที่ผู้ใช้งานต้องการมากที่สุดคือความรวดเร็วของการติดตั้งและการแห้งตัวและการบ่มตัว การแห้งตัวที่สามารถเดินได้ใช้เวลาเพียงหลักนาที และสามารถเปิดใช้งานแบบทั่วไปได้ภายในหลักชั่วโมง ซึ่งคุณสมบัตินี้ทั้ง pure polyurea และ hybrid polyurea มีค่าการเซ็ตตัวใกล้เคียงกัน การก่อสร้างในปัจจุบันต้องการทั้งความเร็วและคุณภาพ ซึ่งหากเทียบกับวัสดุกันซึมอื่นแล้วไม่มีตัวไหนเทียบได้กับโพลียูเรีย
2. การทนทานต่อสารเคมีและคุณสมบัติทางกล เมื่อโพลียูเรียบ่มตัวเสร็จสมบูรณ์ จะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันไม่มีรอยต่อ ไม่มีการกดตัว ไม่มีการระเหยหรือสูญเสียสภาพวัสดุต่อกาลเวลา โยสามารถทนทานแม้แรงระเบิด หรือทนทานต่อกรดเข้มข้นสูงๆได้ จึงนำมาใช้เคลือบบ่อที่ต้องเก็บสารเคมีต่างๆ
3. คุณสมบัติสุดยอดด้านการกันรั่วซึม (Waterproofing) และปกป้องผิว การใช้งานโพลียูเรียในรูปแบบการใช้งานคือใช้เป็นวัสดุกันรั่วซึมที่ดีที่สุด เช่น หลังคา,ดานฟ้า,สะพาน,อุโมงค์,แทงค์น้ำ ซึ่งวัสดุนี้สามารถป้องกันพื้นผิวได้อีกด้วย
4. ติดตั้งง่ายและยึดเกาะดีเยี่ยม การติดตั้งวัสดุกันซึมโพลียูเรียนั้นการติดตั้งใช้อุปกรณ์ที่มีมูลค่าสูง วัสดุมีมูลค่าสูง และการติดตั้งนั้นใช้การพ่นเป็นแนวตามทิศทางของพื้นที่ สามารถพ่นได้หลากหลายพื้นผิวเช่น ไม้,พลาสติก,เซรามิค ทั้งยังมีแรงยึดเกาะดีเยี่ยมถึงแม้จะมีความชื้นอยู่บ้างและไม่จำเป็นต้องมีผ้าตาข่ายเสริมแรงเพราะตัววัสดุมีความต้านทานแรงดึงที่สูงมากจึงยากที่จะขาด
5. อยู่ทนทานหลายปี วัสดุโพลียูเรียสามารถอยู่ได้นานถึง 20-50 ปี ขึ้นอยู่กับความหนาและการออกแบบระบบ เป็นวัสดุกันซึมที่มีอายุยาวนานที่สุดซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากคุณสมบัติของโพลียูเรียทั้งสิ้น
6. รักษาสภาพแวดล้อม โพลียูเรียเป็นวัสดุที่มี 100% โพลียูเรียราคาแพง วัสดุโพลียูเรียนั้นถือว่าเป็นการลงทุนระยะยาวและเป็นการจ่ายครั้งเดียวแล้วไม่ต้องมากังวล คำตอบคือจริงเพราะเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุกันซึมอื่นๆ ในเชิงคุณสมบัติและความทนทานแสง ไม่มีวัสดุสามารถเทียบกันได้เลยกับโพลียูเรีย เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับอายุของวัสดุแสงโพลียูเรียกับวัถุดิบในการลงทุนมาก
โพลียูเรียกับอุตสาหกรรมต่างๆ
-
อุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องจักร - การพ่นโพลียูเรียมีมานานกว่า 30 ปี สำหรับการเคลือบพื้นผิวที่เป็นโลหะเพื่อความทนทานต่อการขูดขีด (Abrasion resistance) และการกระแทก (impact resistance) ซึ่งต้องการวัสดุเคลือบผิวที่ทนทาน ยิ่งเฉพาะงานอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทแกของเศษหินและวัสดุที่มีน้ำหนักต่อเครื่องจักร
-
อุตสาหกรรมท่อและท่อส่งแก๊ส - ท่อที่ขนส่งต้องการความทนทานต่อการกัดกร่อนและทนต่อแรงดันสูง ทั้งอุปกรณ์ปั๊ม วาวล์ และเครื่องมือวัด ต่างต้องสัมผัสกับการสารเคมี ก๊าซ วัสดุที่กัดกร่อนจำเป้นที่จะต้องใช้ โพลียูเรียเคลือบทั้งหมดเพราะไม่ม่วัสดุชนิดไหนจะทนทานต่อการกัดกร่อนเท่า
-
อุตสาหกรรมทหาร - วัสดุต้องการการดูดซับแรงระเบิด (Explosion resistance) และทนความร้อนสูง โดยจะเคลือบผิวด้านนอกเพื่อดูดซับแรงกระทำจากแรงระเบิด
-
โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ - โครงสร้างพื้นฐานทั้งคอนกรีตและเหล็ก เช่น สะพาน บ่อบำบัด อุโมงค์ ฐานรากขนาดใหญ่ ท่าเรือ ถังเหล็กเก็บสารเคมี ที่ต้องการปกป้องพื้นผิวให้มีอายุการใช้งานยาวนานมากๆ 50-100 ปี
-
โครงสร้างที่ต้องการกันน้ำรั่วซึม 100% - งานกันซึมที่ดีที่สุดคือ โพลียูเรีย
10-20 YEARS LIFE TIME
Polyurea apply for steel tank