สีกันไฟ
FIREPROOF COATING
INTUMESCENT FIRE COATING
ความจำเป็นที่จะต้องมีการทาสีกันไฟบนโครงสร้างเหล็ก
เหล็กรูปพรรณ (structural steel) มีการใช้เป็นโครงสร้างหลักของอาคารต่างๆมากขึ้น เช่น โกดัง โรงงาน อาคาร เป็นต้น เนื่องจากมีคุณสมบัติในการรับกำลังที่ดีทั้งแรงดึงและแรงอัด (tension & compression) ซึ่งทำให้การออกแบบโครงสร้างมีประสิทธิภาพ มีน้ำหนักเบา การติดตั้งที่รวดเร็ว ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าเมื่อเหล็กโดนความร้อนหรืออุณหภูมสูงขึ้นจะเสียรูปและเสียคุณสมบัติการรับกำลัง ยกตัวอย่างเช่นโครงสร้างเหล็กที่สัมผัสอุณหภูมิสูงกว่า 500 องศาเซลเซียสจะเสียรูปและเสียการรับกำลังภายในเวลาไม่กี่นาที และจะพังทลายในที่สุดอย่างรวดเร็ว เมื่อความร้อนเป็นจุดอ่อน นั่นคือคำถามว่าไทไมเราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำการเคลือบสีกันไฟบนโครงสร้างเหล็ก
สีกันไฟนั้นมีคุณสมบัติที่เราต้องการคือ
-
สามารถทนต่อการเกิดเพลิงไหม้ได้นานถึง 120 นาที
-
เวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้โครงสร้างยังสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้
-
เมื่อโครงสร้างยังอยู่จึงสามารภให้นักกู้ภัยมีเวลาเพียงพอสำหรับการช่วยเหลือคนที่ติดในอาคาร
สีกันไฟแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
เราแบ่งชนิดของสีกันไฟตามลักษณะการทำงานของสีแต่ละชนิดซึ่งแตกต่างกันไฟ้ดังนี้ สีกันไฟชนิด Intumescent coating และ สีกันไฟชนิด Fire retardent coating โดยสามารถทนไฟได้ตามระยะเวลาต่างๆกัน 30 นาที 60 นาที 90 นาที และ 120 นาที เป็นไปตามข้อบัญญํติกฎหมายควบคุมอาคาร
-
Fire retardent paint เป็นสีกันไฟชนิดนึงที่นิยมใช้กันมากในหลายประเทศ ลักษณธการทำงานคือเมื่อเกิดความร้อนหรือเฟลมจากไฟไฟม้ สีชนิดนี้จะปล่อยแก๊สออกมาปกคลุมพื้นผิวที่ทาเคลือบไว้
-
Intumescent coating เมื่อเคลือบไว้ที่พื้นผิวและเกิดความร้อนหรือเฟลม สารที่เคลือบไว้จะเกิดฉนวนออกมาห่อหุ้มพื้นผิวที่เคลือบคล้ายฉนวนกันไฟ solid foam ซึ่งฉนวนนี้มีหน้าที่ปกป้องไม่ให้พื้นผิวด้านในมีอุณหภูมิสูงขึ้น
Intumescent Coating แบ่งได้ 2 แบบ
-
ชนิดบาง (thin film) ใช้สำหรับงานอาคารโครงสร้างทั่วไป
-
แบบหนา (thick film) ใ้ชสำหรับงานที่มีความเสี่ยงการเกิดเพลิงไหม้สูง เช่น สถานที่เก็บน้ำมัน
Instumescent Coating แบ่งตามชนิดวัสดุได้ 3 แบบ
-
สีกันไฟสูตรน้ำ
-
สีกันไฟสูตรน้ำมัน
-
สีกันไฟสูตรอีพ็อกซี่
มาตรฐานผลการทดสอบ ASTM E-119 Fire Tests of Building Construction and Materials