top of page

REPAIR OF MOISTURE RISING

แก้ไขซ่อมแซมผนังชื้นเนื่องจากน้ำใต้ดิน

IMG_1811.JPG

ปัญหาผนังชั้นใต้ดิน หรือชั้นที่ติดกับดินเดิมมีความชื้น

ปัญหาความชื้นบนผนังหรือเรียกว่า Rising Damp พบได้ในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดิน ทำให้โครงสร้างพื้น คาน ตอม่อและฐานรากได้รับแรงดันน้ำที่เกิดจากน้ำใต้ดิน เกิดการซึมผ่านผนังอิฐแดงที่เรียกว่า Capillaries รูพรุนเล็กๆ ที่อยู่ในอิฐถูกดูดขึ้นมาขึ้นมาบนผนังฉาบปูน เมื่อความชื้นสัมผัสอากาศ ก็จะเกิดปัญหาบนผนังของเราเช่น สีบวมพอง เกิดคราบเชื้อรา เกิดการเสื่อมสภาพของผิวหน้าตกแต่ง เช่น การลอกร่อน เป็นที่สะสมของเชื้อโรค ต่างๆ และความชื้นนั้นเมื่อซึมผ่านไม่เพียงแต่นำความชื้นยังนำเกลือ (salt) ขึ้นมาด้วยจึงเกิดปฏิกริยาเร่งความเสียหานในผนังเป็นคราบขาว

ปัญหาผนังชื้น เกิดขึ้นเยอะในอาคารเก่าๆ มากกว่า 30 ปี ที่สร้างมานานก่อนที่จะมีการตัดถนนใหม่ จนทำให้บ้านอยู่ต่ำกว่าระดับดินเดิมหรือระดับถนน ทำให้เกิดการ Negative Pressure ขึ้น และสมัยก่อนจะไม่มีการใช้วัสดุกันซึมที่กันความชื้นใต้ดิน เรียกว่า Damp proof course (DPC) เป็นผลให้ความชื้นสะสมในผนัง และไม่เพียงแต่ผนังพื้นคอนกรีตก็สามารถเกิดคงวามชื้นซึมผ่านได้ทำให้พื้นหรือ finishing surface เกิดความเสียหายจากความชื้น  

ปัจจุบันการติดตั้ง Damp proof course ก็ยังไม่เป็นที่นิยมเนื่องจาก การไม่มีองค์ความรู้ หรือวัสดุที่ต้องการหาได้ยากในประเทศไทย หรือคิดว่าเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์นั่นเป็นความคิดที่ผิดและมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมค่อนข้างสูง หากท่านสนใจวัสดุชนิดนี้ รบกวนคลิก Damp proof course ที่นี่ 

IMG_1802.JPG
IMG_1805.JPG

Moisture Transmission

srd-how-it-works-001.jpg
home7.jpg

การตรวจสอบความชื้นด้วย Moisture Meter

กรณี่ที่ต้องการการตรวจสอบความชื้นว่ามีค่าความชื้นขึ้นสูงไหม เราใช้เครื่องวัดความชื้น หรือ Moisture Meter for concrete & masonry ​โดยเทียบค่าที่อ่านได้กับบริเวณที่ไม่เกิดความชื้นและตรวจสอบด้วยตาอีกครั้ง หรือใช้ทดสอบการวัดค่าความชื้น ก่อนและหลังซ่อมแซมว่ามีค่าพอเหมาะที่จะทำการฉาบปิดผิวตกแต่งหรือทาสีหรือยัง โดยค่าความชื้นควรมีค่าประมาณควรน้อยกว่า 14%

rising-damp-and-its-control.jpg

การซ่อมแซมปัญหาความชื้นเนื่องจากน้ำใต้ดิน

ซ่อมน้ำซึมผนัง.webp
Damp proofiing Cream.jpg

การแก้ไขความชื้นบนผนังก่ออิฐมีขั้นตอนแตกต่างกันตามแต่ละโครงการหรือแต่ละปัญหาของบ้านหรืออาคาร เราขอแนะนำวิธีการซ่อมผนังชื้นแบบทั่วไปเพื่อใช้ในการซ่อมแซมผนังชื้น ดังนี้

  1. ตรวจสอบความชื้นบนผนังปูนฉาบ ถ้ามี wall paper ให้รื้อออกก่อนทดสอบค่าความชื้น ค่าความชื้นควรมีค่าต่ำกว่า 14%

  2. กรณีที่มีค่าความชื้นสูงค่อนข้างมาก จำเป็นต้องรื้ผนังปูนฉาบออกเพื่อให้เจอผิวของอิฐมอญ 

  3. ทำการเจาะรูเพื่อเตรียมในการอัดน้ำยา โดยคววรทำที่ความสูงประมาฯ 150 มิลลิเมตร จากพื้น และระยะห่างรูเจาะที่ 100 มิลลิเมตร

  4. ทำการอัดน้ำยา Damp Proofing Cream ที่บรรจุในหลอดและใช้ปืนยิงเข้าไปในรูเจาะจนเต็ม อัดน้ำยาที่ละรูเจาะจนคนบความยาวผนัง

  5. ทำการตรวจสอบน้ำยาว่าเต็มพอดีอีกครั้ง

  6. พื้นผิวที่มีคราบเกลือหรือคราลเชื้อราให้ใช้แปรงทำความสะอาดแล้วใช้น้ำยาฆาสเชื้อรา ทา 1 เที่ยว

  7. ทำการทำน้ำยารองพื้นปูนเก่าที่มีสูตรขจัดคราบเกลือและป้องกันความชื้น 

  8. ทำการฉาบปูนกลับอีกครั้ง ก่อนทำการทาสี

ซ่อมความชื้นผนัง.jpg
ปูนฉาบบาง.jpg

Line ID: orlanx
Mobile: 089-545-6452

bottom of page